ยื่นขอเงินสงเคราะห์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

การจดทะเบียนคนพิการ

การจัดสวัสดิการสังคมด้านต่าง ๆ ให้แก่คนพิการทุกประเภท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา สำนักงานพัมนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก ให้บริการและสงเคราะห์ ดังนี้

คนพิการที่จดทะเบียนแล้วจะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ เพื่อนำไปแสดงตนว่าเป็นคนพิการที่ประสงค์จะได้รับสิทธิในการสงเคราะห์การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550

หลักฐานของคนพิการที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนคนพิการ        
1. รูปถ่ายคนพิการขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการหรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าวหรือเอกสารอื่นที่
ทางราชการออกให้ คนพิการ 1 ฉบับ
3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
4. เอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ โดยแพทย์ของโรงพยาบาลของทางราชการและ โรงพยาบาลอื่นที่กระทรวง สาธารณสุข ประกาศกำหนด 1 ฉบับ

กรณีที่ผู้พิการไม่สามารถมาจดทะเบียนด้วยตนเอง ได้ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลหรือบุคคลที่ดูแลคนพิการ
แล้วแต่กรณียื่นขอจดทะเบียนแทนได้ และต้องมีหลักฐานประกอบตามระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

หลักฐานสำหรับผู้ไปจดทะเบียนคนพิการแทนคนพิการ
    
1. รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
2. สำเนาทะเบียนบ้านของคนพิการและผู้จดทะเบียนแทนคนละ 1 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการ ออกให้คนพิการและผู้จดทะเบียนแทนคนละ 1 ฉบับ
4. ใบมอบอำนาจจากคนพิการหรือหนังสือรับรองจากทางราชการ 1 ฉบับ
5. คำสั่งศาลในกรณีศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไร้ความสามารถหรือการจัดตั้งผู้ปกครองกรณี ผู้เยาว์ ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง
6. เอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ โดยแพทย์ของโรงพยาบาลของทางราชการและโรงพยาบาลอื่น ที่กระทรวงสาธารสุข ประกาศกำหนอด 1 ฉบับ

คนพิการจะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการเมื่อจดทะเบียนแล้ว เพื่อนำไปแสดงในการขอรับบริการสงเคราะห์หรือ
การฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านต่างๆ สมุดประจำตัวคนพิการนี้จะมีอายุ 5 ปี นับจากออกสมุดเมื่อครบกำหนดแล้วจะต้อง นำมาขอ ต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ ตามสถานที่จดทะเบียน พร้อมกับเอกสารที่ใช้ในการต่ออายุสมุด ประจำตัว คนพิการ หากสมุดประจำตัว คนพิการสูญหายให้นำ ไปแจ้ง..มายื่นจดทะเบียนใหม่

การต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ หลักฐานในการต่ออายุ สมุดประจำตัวคนพิการ มีดังนี้

สมุดประจำตัวคนพิการเล่มเดิมที่หมดอายุ / ชำรุด
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
ใบแจ้งความจากสถานีตำรวจ กรณีทำสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย

การสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ

คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการช่วยเหลือ

1. เป็นผู้พิการที่จดทะเบียนคนพิการตาม พรบ.
2. เป็นผู้เลี้ยงดูคนพิการหรือเป็นผู้พิการที่ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพ


วิธีการให้ความช่วยเหลือ

1. สอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
2. ประสานข้อมูลไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลที่คนพิการอาศัยอยู่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
3. ดำเนินการเบิกจ่ายเงินสงเคราะห์
4. นัดคนพิการมารับเงินสงเคราะห์ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลก


หลักฐาน/เอกสารที่ต้องนำมา

(1) บัตรประจำตัวประชาชน/สมุดประจำตัวคนพิการ/หลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้
(2) ทะเบียนบ้าน

การกู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

การให้กู้ยืม มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 

1.เพื่อการประกอบอาชีพ
2. เพื่อการขยายกิจการ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้ยืม

(1) เป็นคนพิการที่จดทะเบียนแล้ว ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ . ศ . 2534

(2) มีอายุไม่ตํ่ ากว่าสิบห้าปีและไม่เกินเจ็ดสิบปี บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา
หรือผู้ปกครองก่อนคนพิการที่มีอายุตํ่ากว่า กําหนดตามวรรคหนึ่ง ( 2) อาจมีสิทธิกู้ยืมเงินกองทุนได้เมื่อคณะอนุกรรมการ เห็นว่า เพื่อความเหมาะสม แก่การดํารงชีพ หรือการประกอบอาชีพ

(3) ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ในท้องที่ที่ยื่นขอกู้ กรณีที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในท้องที่นั้นต้องได้รับการรับรอง จากองค์กรท้องถิ่น หรือองค์กรคนพิการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ว่าคนพิการที่ได้รับรองนี้เป็นบุคคลอยู่ในท้องถิ่นตาม คํารับรอง หรือมีหนังสือ รับรองการเช่าบ้านหรือการเข้าพักอาศัย จากเจ้าของบ้านเช่า ซึ่งเช่ามาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน

(4)ไม่เป็นผู้ที่ค้างชําระหนี้เงินกองทุน ยกเว้นเป็นการกู้เพื่อขยายกิจการ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวงเงินสี่หมื่นบาท โดยต้อง ชําระหนี้คืนตามสัญญาเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี เว้นแต่คณะอนุกรรมการจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น

ผู้มีสิทธิกู้ยืมเงินกองทุน จะต้องมีหลักฐานประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้

(1) สําเนาสมุดประจําตัวคนพิการ
(2) สําเนาทะเบียนบ้าน
(3) แผนผังที่พักอาศัย หรือที่ประกอบกิจการ
(4) วัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงินและประมาณการค่าใช้จ่าย
(5) รูปถ่ายเต็มตัวเห็นสภาพความพิการ จํานวน 2 รูป
(6) สําเนาหลักฐานการศึกษา ( ถ้ามี )

หลักประกันการกู้ยืมและการทําสัญญากู้ยืมเงินการกู้ยืมเงินกองทุน ผู้กู้ยืมเงินต้องนําบุคคลคํ้าประกันมาทําสัญญาและต้องลงนามในสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ได้รับมอบอํานาจ

บุคคลผู้คํ้าประกันต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีความสามารถในการทํานิติกรรม
(2) มีภูมิลําเนาเป็นหลักแหล่ง มีอาชีพและรายได้มั่นคง มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ผู้กู้ ยื่นขอกู้ไม่น้อยกว่าหกเดือน
(3) หากผู้คํ้าประกันเป็นคนพิการ ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีประวัติการค้างชํ าระหนี้เงินกองทุนติดต่อกันสองงวด
(4) ต้องไม่เป็นสามีหรือภรรยาของผู้กู้ตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ผู้คํ้าประกันคนหนึ่งจะคํ้าประกันผู้กู้ยืมเงินกองทุนได้ไม่เกินหนึ่งรายเมื่อคณะอนุกรรมการ พิจารณาอนุมัติคําขอกู้ยืมเงินกองทุนแล้ว ให้สํานักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ หรือสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ดําเนินการให้ผู้ที่ได้รับอนุมัติกู้ยืม กองทุน ไปทําสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันกับผู้อํานวยการสํานักงาน หรือผู้ซึ่งผู้อํ านวยการสํ านักงานมอบหมาย โดยให้จัดทํา สัญญา กู้ยืมเงินและสัญญาคํ้ าประกัน จํ านวนสามชุด ต้นฉบับให้เก็บไว้ ณ สํานักงานที่ยื่นกู้ หนึ่งชุด คู่ฉบับให้ส่งไปยังสํ านักส่งเสริมและ พิทักษ์คนพิการ หนึ่งชุด มอบสัญญากู้ยืมเงินให้ผู้กู้ยืม หนึ่งฉบับและมอบสัญญาคํ้าประกันให้ผู้คํ้ าประกัน หนึ่งฉบับ ถ้าผู้ที่ได้รับอนุมัติ ให้กู้ ยืมเงินรายใด ไม่มาทําสัญญาภายในหนึ่งปี หรือไม่มารับเงินหลังจากทําสัญญาแล้วหกเดือน นับแต่วันที่แจ้งให้ทราบให้ถือว่าการขอ กู้ยืม เงิน ในครั้งนั้น เป็นอันยกเลิก แต่ไม่ระงับสิทธิในการขอยื่นกู้ยืมเงินกองทุนใหม่

การชําระหนี้ การเร่งรัดหนี้ การรับสภาพหนี้

การชํ าระคืนเงินกู้ยืมให้ผู้กู้ยืมเงินกองทุน ผ่อนชํ าระหนี้เป็นรายเดือนภายในระยะเวลาไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่ได้รับเงินกู้ตามสัญญา เว้นแต่กรณีที่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเห็นเป็นอย่างอื่น

การชําระคืนเงินกู้ยืมให้ผู้กู้ยืมเงินกองทุนชําระตามสัญญาการกู้ยืมเงิน ณ สํานักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ

หรือสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ผู้อํานวยการสํานักงาน โดยเข้าบัญชีเงินกองทุน ถ้าผู้กู้ยืมเงินกองทุนไม่ชําระหนี้ตามกําหนดตั้งแต่สองงวดขึ้นไป สํานักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ หรือสํานักงานพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจะต้องเร่งรัดหนี้ให้เป็นไปตามสัญญา โดยการจัดทําหนังสือเร่งรัดติดตามทวงหนี้ หรือจัดส่งเจ้าหน้าที่ออก ติดตามและเก็บรวบรวมเอกสารการทวงหนี้ไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งทํารายงานเสนอคณะอนุกรรมการให้สํานักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ หรือสํ านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้อํานวยการสํานักงานมอบหมาย ตรวจสอบรายละเอียดจํ านวนเงิน ที่ผู้กู้ยืมเงิน กองทุนค้างชํ าระ ณ วันสิ้นปีงบประมาณและดําเนินการแจ้งให้ผู้กู้ยืมเงินกองทุนทุกรายยืนยันจํานวนหนี้คงค้างในใบรับสภาพ หนี้ตาม แบบที่กําหนดท้ายระเบียบกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการปฏิเสธหรือเพิกเฉย ให้รายงานสํานักงานเพื่อดํ าเนินการต่อไป


สิทธิ/สวัสดิการ

สิทธิ/สวัสดิการที่น่าสนใจ

Tags